ยกเลิกครูหลักสูตร 5 ปี ในปีการศึกษา 2556 แน่นอน "ไชยยศ" ย้ำอนาคตต้องการคนจบ ป.โท มาเป็นครูเท่านั้น สพฐ.ยกงานวิจัยผลการเรียนของเด็กจะดีหรือแย่ขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่ของครูไม่ใช่วุฒิการศึกษา
นายไชยยศ จิรเมธากร รัฐมนตรีว่าช่วยการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า ที่ประชุมมีมติการดำเนินการหลักสูตรครูพันธุ์ใหม่ใน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตร 4+2 คือรับผู้จบจากสาขาวิชาอื่น ๆ มาเรียนต่อระดับปริญญาโท และหลักสูตรครู 6 ปี โดยทั้ง 2 หลักสูตรมีเงื่อนไขผูกพัน 2 รูปแบบดังนี้คือ การให้ทุนการศึกษาระหว่างเรียนและประกันการมีงานทำ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับการบรรจุเป็นครูในสาขาและพื้นที่ที่ขาดแคลนตามที่โครงการฯ กำหนด สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หรือสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) รูปแบบที่ 2 คือ ประกันการมีงานทำแต่ไม่มีเงินทุนการศึกษาให้ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับการบรรจุเป็นครูในสาขาและพื้นที่ที่ขาดแคลนตามที่โครงการฯ กำหนดเช่นเดียวกัน
โดยขณะนี้มีสถาบันที่ยืนยันว่าสามารถจะเปิดสอนหลักสูตรครูพันธุ์ใหม่หลักสูตร 6 ปีในปีการศึกษา 2554 เบื้องต้น 36 สถาบัน จำนวน 85 สาขา ส่วนหลักสูตร 4+2 มีสาขาที่ผ่านการพิจาณาจากคณะกรรมการแล้วเบื้องต้นจำนวน 104 หลักสูตร จาก 34 สถาบัน โดยคาดว่าจะสามารถได้ข้อสรุปในกลางเดือนมกราคมปี 2554
นายไชยยศกล่าวต่อไปว่า ส่วนทุนครูพันธุ์ใหม่ในหลักสูตร 5 จะเปิดรับปี 54 เป็นปีสุดท้าย ขณะที่สถาบันที่ยังไม่พร้อมเปิดหลักสูตรครูพันธุ์ใหม่ก็ให้เปิดรับหลักสูตร 5 ปีได้ไปจนถึงปีการศึกษา 2555 แต่ในปีการศึกษา 2556 ก็จะไม่มีการเปิดรับหลักสูตรครู 5 ปีอีกแล้ว เนื่องจากการปรับครั้งนี้เพื่อผลิตครูในสาขาวิชาและพื้นที่ให้สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานผู้ใช้ครูอย่าง สพฐ.และ สอศ.
"ส่วนตัวผมคิดว่าในอนาคตคนที่จบมาสอนเด็กควรจะต้องเป็นคนที่จบ ป.โท เพราะจะทำให้คุณภาพการเรียนการสอนดีขึ้น" นายไชยยศกล่าว
ด้าน ดร.สมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รอง กพฐ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมามีผลงานวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวุฒิการศึกษาของครูที่จบ แต่ขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่การเรียนการสอนของครูในห้องเรียนที่มีต่อเด็กมากกว่า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์
นายไชยยศ จิรเมธากร รัฐมนตรีว่าช่วยการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่ เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า ที่ประชุมมีมติการดำเนินการหลักสูตรครูพันธุ์ใหม่ใน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตร 4+2 คือรับผู้จบจากสาขาวิชาอื่น ๆ มาเรียนต่อระดับปริญญาโท และหลักสูตรครู 6 ปี โดยทั้ง 2 หลักสูตรมีเงื่อนไขผูกพัน 2 รูปแบบดังนี้คือ การให้ทุนการศึกษาระหว่างเรียนและประกันการมีงานทำ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับการบรรจุเป็นครูในสาขาและพื้นที่ที่ขาดแคลนตามที่โครงการฯ กำหนด สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หรือสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) รูปแบบที่ 2 คือ ประกันการมีงานทำแต่ไม่มีเงินทุนการศึกษาให้ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับการบรรจุเป็นครูในสาขาและพื้นที่ที่ขาดแคลนตามที่โครงการฯ กำหนดเช่นเดียวกัน
โดยขณะนี้มีสถาบันที่ยืนยันว่าสามารถจะเปิดสอนหลักสูตรครูพันธุ์ใหม่หลักสูตร 6 ปีในปีการศึกษา 2554 เบื้องต้น 36 สถาบัน จำนวน 85 สาขา ส่วนหลักสูตร 4+2 มีสาขาที่ผ่านการพิจาณาจากคณะกรรมการแล้วเบื้องต้นจำนวน 104 หลักสูตร จาก 34 สถาบัน โดยคาดว่าจะสามารถได้ข้อสรุปในกลางเดือนมกราคมปี 2554
นายไชยยศกล่าวต่อไปว่า ส่วนทุนครูพันธุ์ใหม่ในหลักสูตร 5 จะเปิดรับปี 54 เป็นปีสุดท้าย ขณะที่สถาบันที่ยังไม่พร้อมเปิดหลักสูตรครูพันธุ์ใหม่ก็ให้เปิดรับหลักสูตร 5 ปีได้ไปจนถึงปีการศึกษา 2555 แต่ในปีการศึกษา 2556 ก็จะไม่มีการเปิดรับหลักสูตรครู 5 ปีอีกแล้ว เนื่องจากการปรับครั้งนี้เพื่อผลิตครูในสาขาวิชาและพื้นที่ให้สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานผู้ใช้ครูอย่าง สพฐ.และ สอศ.
"ส่วนตัวผมคิดว่าในอนาคตคนที่จบมาสอนเด็กควรจะต้องเป็นคนที่จบ ป.โท เพราะจะทำให้คุณภาพการเรียนการสอนดีขึ้น" นายไชยยศกล่าว
ด้าน ดร.สมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รอง กพฐ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมามีผลงานวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวุฒิการศึกษาของครูที่จบ แต่ขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่การเรียนการสอนของครูในห้องเรียนที่มีต่อเด็กมากกว่า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น